สัตว์ที่สามารถพบได้ในท้องถิ่น เช่น ⬇️⬇️
ปลากะพงขาว |
พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มี
ปลากระบอก |
ปลากระบอกเป็นปลาที่กินพืชที่แท้จริงจัดอยู่ในขั้นอาหารที่สอง เป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ง่าย และสามารถหาอาหารกินได้ในทุกระดับน้ำ
หอยแครง |
หอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร อาศัย พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว ในน่านน้ำไทยพบมากที่จังหวัดชลบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี
ปลาตีน |
ปลาตีนอาศัยในป่าชายเลนในประเทศไทยมีกระจายเป็นตอน ๆ ริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชลบุรี, จังหวัดตราด เรื่อยลงไปถึงจังหวัดปัตตานี ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันพบตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปสุด ชายแดนไทยที่จังหวัดสตูล
ปูแสม |
ปูแสมขนาดกลาง กระดองกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้ามสีแดง ขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนหรือริมคันนาน้ำเค็ม กินเศษอินทรีย์ต่างๆ เป็นอาหาร พบชุกชุมและมีการแพร่กระจายทั่วไป ปูแสมก้ามแดงระยะเจริญพันธุ์น้ำหนักตัวเฉลี่ย 24.20+11.10 กรัม ความยาวกระดอง 2.99+0.43 เซนติเมตร ชอบกินใบพืชป่าชายเลนเป็นอาหาร
นกยาง |
นกยางโทนใหญ่พบได้ในทุกภาคของประเทศ ตามหนองน้ำ ที่ราบน้ำท่วมถึง และตามท้องนาในฤดูฝน เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยและมีบางส่วนเป็นนกอพยพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น